สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 16-22 มี.ค.61

ถั่วเหลือง

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
          ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.77 บาท สูงขึ้นจาก กก ละ 15.66 บาท ในสัปดาห์ ที่ผ่านมาร้อยละ 0.70 
          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
          ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
           ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก) 
          ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,031.84 เซนต์ (11.90 บาท/กก.) ลดลง จากบุชเชลละ 1,034.36 เซนต์ ( 11.95 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.24
          ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 365.14 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.46 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 370.62 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.65 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.48
          ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 32.01 เซนต์ (22.15 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 31.77 เซนต์ (22.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.76
 



ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ 
     ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้ 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
          ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.16 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.67 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.15 
          ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.93 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.27 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.29 

          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
          ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 
          ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

ยางพารา

          1. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาภายในประเทศ 
           ภาพรวมราคายางพาราเฉลี่ยทั้งประเทศปรับตัวลดลงเนื่องจากความต้องการซื้อภายในประเทศลดลง เพราะจีนซึ่งเป็นผู้ซื้อหลักมีสต๊อกยางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคายางพาราปรับตัวลดลง ทางด้านการใช้ยางภายในประเทศ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย และการยางแห่งประเทศไทย สาขาเมืองเชียงราย ร่วมกันปรับปรุงถนนลูกรังสายหลังวัดพระธาตุจอมสัก ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ให้เป็นถนนซอยซีเมนต์ หรือถนนดินซีเมนต์ หรือถนนยางซีเมนต์ รวมระยะทาง 500 เมตร โดยนำน้ำยางพารามาผสมกับคอนกรีตเป็นถนนยางพารา นำร่องสายแรกของภาคเหนือก่อนขยายไปยังพื้นที่อื่น ซึ่งนายถาวร มาแก้ว ผู้อำนวยการยางแห่งประเทศไทย สาขาอำเภอเมืองเชียงราย เปิดเผยว่า ถนนซอยซีเมนต์ดังกล่าวผ่านการทำวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ใช้ส่วนผสมในอัตราส่วนน้ำยางพาราร้อยละ 60 ต่อปูนซีเมนต์ร้อยละ 40 ซึ่งถนนระยะทาง 1 กิโลเมตร จะใช้น้ำยาง 3,500 กิโลกรัม หลังทำเสร็จจะมีความทนทาน สามารถรองรับน้ำหนักได้เป็นอย่างดี คาดว่าการนำน้ำยางพารามาทำถนนซอยซีเมนต์หรือถนนดินซีเมนต์จะสามารถช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพาราในการแก้ไขปัญหายางล้นตลาดและราคายางตกต่ำได้เป็นอย่างดี

          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
          1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.50 บาท ลดลงจาก 45.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.02 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.04 
          2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ลดลงจาก 45.02 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.02 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.04
          3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท ลดลงจาก 44.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.02 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.04
          4. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.38 บาท เพิ่มขึ้นจาก 18.72 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.66 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.53
          5. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.67 บาท เพิ่มขึ้นจาก 16.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.50 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.09
          6. น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.21 บาท ลดลงจาก 44.48 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.27 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.61

          ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนเมษายน 2561 
          ณ ท่าเรือกรุงเทพ 
          1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.61 บาท ลดลงจาก 56.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.39 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.70
          2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.46 บาท ลดลงจาก 54.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.39 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.71
          3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.70 บาท ลดลงจาก 46.88 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.18 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.38
          4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.32 บาท ลดลงจาก 38.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.51 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.31
          ณ ท่าเรือสงขลา 
          1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.36 บาท ลดลงจาก 55.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.39 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.70
          2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.21 บาท ลดลงจาก 54.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.39 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.71
          3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.45 บาท ลดลงจาก 46.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.18 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.39
          4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.07 บาท ลดลงจาก 38.58 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.51 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.32

          2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
          ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์และตลาดโตเกียวปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจาก
สต๊อกยางในประเทศจีนซึ่งเป็นผู้ซื้อหลักมีปริมาณเพิ่มขึ้น รวมทั้งราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวลดลงส่งผลให้ราคายางพาราปรับตัวลดลง ทางด้านอุตสาหกรรมยางล้อ บริษัท Apollo Tyres Ltd. เริ่มก่อสร้างโรงงานผลิตยางล้อระดับโลกในรัฐ Andhra Pradesh เมือง Gurgaon ประเทศอินเดีย ซึ่งติดกับชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย โดยได้ลงทุน 18,000 ล้านรูปี ในระยะแรก การก่อสร้างจะเริ่มภายในหกเดือนข้างหน้า และคาดว่าจะผลิตยางล้อในเวลา 24 เดือนหลังจากนี้ และบริษัทฯ มีแผนที่จะผลิตยางล้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในโรงงานดังกล่าว จากความต้องการที่เพิ่มขึ้น และจะผลิตผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ต่อไป ซึ่งบริษัท Apollo Tyres ซึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติของอินเดียได้มาเปิดโรงงานผลิตสมัยใหม่ในรัฐ Andhra Pradesh หลังจากที่ได้เปิดโรงงานระดับโลกที่เมืองเชนไน และในฮังการี โรงงานแห่งใหม่จะสร้างงานโดยตรงประมาณ 700 ตำแหน่ง และโดยทางอ้อมอีกหลายตำแหน่ง 
          ราคายางแผ่นรมควันชั้น3
          ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 173.72 เซนต์สหรัฐฯ (53.76 บาท) ลดลงจาก 174.74 เซนต์สหรัฐฯ (54.17 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 1.02 เซนต์สหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 0.58 
          ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 180.88 เยน (52.44 บาท) ลดลงจาก 186.26 เยน (53.78 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 5.39 เยน หรือลดลงร้อยละ 2.89



สับปะรด

ผลผลิต เพิ่มขึ้น

          ปริมาณผลผลิตสับปะรดที่ออกสู่ตลาดเดือนมีนาคม2561 ประมาณ 0.226 ล้านตัน หรือร้อยละ 10.06 ของปริมาณผลผลิตรวม 2.248 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.210 ล้านตัน ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 7.59 และลดลงจากปริมาณ 0.260 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 13.19

การส่งออก ลดลง
          ปี 2561 เดือนมกราคม มีการส่งออกสับปะรดสดและผลิตภัณฑ์ปริมาณรวม 0.156 ล้านตันสด ลดลงจากปริมาณ 0.161 ล้านตันสด ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 3.10 และลดลงจาก 0.179 ล้านตันสด ในช่วงเดียวกันของปี 2559 หรือลดลงร้อยละ 12.84

ราคา สับปะรดโรงงาน ลดลง 
          สับปะรดบริโภค ทรงตัว
          ช่วงนี้เป็นช่วงฤดูกาล มีผลผลิตสับปะรดออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งคุณภาพผลผลิตไม่ตรงกับความต้องการของโรงงานแปรรูป ทำให้โรงงานแปรรูปปรับราคา
รับซื้อลดลง โดยราคาที่เกษตรกรขายได้ ดังนี้ 
          - สับปะรดโรงงานกิโลกรัมละ 3.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 4.02 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.72 และลดลงจากกิโลกรัมละ 6.76 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 44.52

          - สับปะรดบริโภคกิโลกรัมละ 8.99 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และลดลงจากกิโลกรัมละ 12.86 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 30.09


ไหม

        ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,722 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,761 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.21
        ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,278 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,267 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.87 
        ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,152 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,172 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.71

 


ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้
          ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

          ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)

          ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 82.38 เซนต์
(กิโลกรัมละ 57.01 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 83.55 เซนต์ (กิโลกรัมละ 57.89 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.40 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.88 บาท



ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
          ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่เริ่มร้อนขึ้นส่งผลให้ปริมาณสุกรออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคเนื้อสุกร แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้นเล็กน้อย 
          สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.54 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.26 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 44.43 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 46.69 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.61บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 45.82 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,400 บาท (บวกลบ 47 บาท) สูงขึ้นจากตัวละ 1,200 บาท (บวกลบ 43 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 16.67
          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
          ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 8.79
 
ไก่เนื้อ
 
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ 
          ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณไก่เนื้อออกสู่ตลาดใกล้เคียงและสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
          ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.03 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 33.30 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.51 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

          สถานการณ์ตลาดไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดค่อนข้างมากและใกล้เคียงกับความต้องการบริโภค แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
          ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 257 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 256 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.39 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 272 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 275 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 246 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
          าคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
          ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 251 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 261 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.83 

ไข่เป็ด

          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
          ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 330 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 349 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 349 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 297 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 339 บาท 
          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 350 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.86

 

โคเนื้อ 
 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
          ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.72 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.78 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.07 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัม 92.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 86.87 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 89.91 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 99.56 บาท

กระบือ

          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
          ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 72.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 72.37 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.28 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.99 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 68.35 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

 


ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ 

          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
          ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.68 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 20.47 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.03 
          ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา 
          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
          ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 
          ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 
          ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 
          ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
          ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 
          ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
          ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 870.60 ดอลลาร์สหรัฐ (26.94 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 868.80 ดอลลาร์สหรัฐ (26.93 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
          ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 805.60 ดอลลาร์สหรัฐ (24.93 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 804.00 ดอลลาร์สหรัฐ (24.92 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท 
          ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 740.80 ดอลลาร์สหรัฐ (22.93 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 739.20 ดอลลาร์สหรัฐ (22.92 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
          ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 545.80 ดอลลาร์สหรัฐ (16.89 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 544.60 ดอลลาร์สหรัฐ (16.88 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท 
          ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 799.20 ดอลลาร์สหรัฐ (24.73 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 797.60 ดอลลาร์สหรัฐ (24.73 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน